>> สวัสดีค่ะทุกท่าน...ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Blogger. ของนางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตรค่ะ ...>>

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่  8    วันพุธ ที่ 30 เดือนกันยายน   พ.ศ. 2558

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



สอบกลางภาคปีการศึกษา 2558


ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2558  ถึง  4  ตุลาคม  2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7






ไม่มีการเรียนการสอน


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


เนื้อหาที่เรียน

-ก่อนเริ่มเข้าสู้เนื้อหาที่เรียนก็จะร้องเพลง(ทบทวนเพลง)

-ในสัปดาห์นี้เรียนเนื้อหาเรื่องของแนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้สอนให้ทำความเข้าใจเรื่อง การสอนแบบแจกลูก (Phonic)
                                           คือ  การประสมคำ,พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  ตัวสะกด

- อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆในการสอนหรือการใช้ภาษาสำหรับเด็ก  โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยนั้นจะมีพฤติกรรมที่อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว  ช่างสงสัย  ช่างซักถาม  มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ  ชอบเรียนรู้สิ่งที่แปลกใหม่  เลียนแบบคนรอบข้าง และมีนักศึกษาหรือนักทฤษฎีที่มีรูปแบบการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Kenneth Goodman) ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ และมีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด

หลักการในการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (นฤมล เนียมหอม :2540)

1.การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
-ต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย

2. การสื่อสารที่มีความหมาย
-การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก

3. การเป็นแบบอย่าง
-ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน

4. การตั้งความคาดหวัง
-ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น 

5. การคาดคะเน
-ควรให้เด็กมี โอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน 

6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ
-ควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ 

7. การยอมรับนับถือ
-ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน 

8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
-ต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น

-อาจารย์ได้ให้ดูวิดีโอ ภาษาธรรมชาติ



-ร้องเพลงใหม่(ทบทวนเพลง) และสุดท้ายอาจารย์ได้ให้ออกไปร้องเพลงคนละ1เพลง

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
               มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้   อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย  รู้สึกผ่อนคลาย  มีความสุขพร้อมที่จะรับการเรียนรู้  และพื้นห้องก็สะอาด  (เนื่องจากภายในห้องไม่มีโต๊ะ-เก้าอี้ เพราะต้องทำกิจกรรม เลยต้องการบริเวณกว้าง และโล่งต่อการจัดกิจกรรม)

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ได้ให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน


พัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 3 ปี
-พูดเป็นประโยคได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้
-สามารถตั้งคำถามโดยใช้เหตุผล
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ






พัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 4 ปี

-บอกชื่อสิ่งของในรูป
-ใช้คำบุพบทได้
-รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี
-ชอบเล่าเรื่อง
-ชอบพูดซ้ำๆ
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้









พัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 5-6 ปี

-ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดี
-เริ่มเล่นสนุกกับคำและรู้จักคิดคำและประโยคของตนเอง
-ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้
-รู้จักเวลาคร่าวๆ
-รู้จักใช้คำถาม “ทำไม”  “อย่างไร”
-เริ่มพัฒนาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น



-เรื่องการจัดทำBlogger

           ในการทำ Blogger  สิ่งที่อาจารย์ต้องการในBlogger   คือ  ควรนำรูปตัวเองขึ้นบน  เพราะอาจารย์จะได้รู้ว่านี้คือของใคร?  แล้วเพิ่งเติมด้วย  ชื่อ  สาขา  คณะ  รหัส  แล้วอาจารย์ผู้สอน  คณะ  มหาวิทยาลัย

-ทบทวนเพลง/ ร้องเพลง

-เพลง ดวงอาทิตย์    -เพลง ดวงจันทร์    -เพลง รำวงดอกมะลิ    -เพลง ดอกมะลิ    -เพลงดอกกุหลาบ

-เรียนเนื้อหาของทฤษฎีทางภาษา
              จากที่ได้ศึกษาเนื้อหาและได้การเรียนการสอนจากอาจารย์ผู้สอนเรื่องทฤษฎีต่างๆทำให้ทราบถึงความสำคัญและความหมายของนักทฤษฎีต่างๆที่มาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  โดยทุกๆนักทฤษฎีนั้นมีจุดมุ่งหมายเล็งเห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก  โดยยึดว่าเด็กที่มีพัฒนาการทางภาษานั้นจะต้องเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างและการส่งเสริมจากผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กให้มีพัฒนาการทางภาษาเพิ่มมากขึ้น  ยิ่งเด็กได้รับการส่งเสริมในทางที่ดี  ไม่ว่าจะทางด้านร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  เด็กจะต้องมีพัฒนาการที่ดี.....


-ทดสอบทางภาษา(โดยมีตัวแทนนักศึกษาในห้องได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้)



-กิจกรรมแต่งนิทานร่วมกันในชั้นเรียน (Big Book)

          อาจารย์เตรียมกระดาษให้ แล้วแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 4-5 คน โดยให้ร่วมกันวาดภาพจากนิทานที่แต่งร่วมกัน

 (นิทานเรื่อง ซูชิหรรษา)






การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้   อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมและตอบคำถามอาจารย์ผู้สอนในเนื้อหาที่ตนเองเข้าใจ  อาจถูกและผิดบ้าง

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่4


เนื้อหาที่เรียน



ไม่มีการเรียนการสอน 


เนื่องจากอาจารย์ประจำวิชาติดธุระ